......ในองค์กรหลักใด ๆ มักจะมีองค์คณะบุคคลที่ทำหน้าที่พัฒนางานหลายองค์คณะ หลายระดับ ผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการหรือบอร์ดในชุดใด ๆ ควรทำความเข้าใจบทบาทของบอร์ดชุดอื่น ๆ และศึกษาหาแนวทางในการพัฒนางานให้สอดรับกัน อย่างในกรณีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากองค์คณะบุคคลสำคัญ ๆ ของเขตพื้นที่การศึกษา สามารถทำงานประสาน สอดรับกันได้เป็นอย่างดี น่าจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา อย่างแท้จริง
......ในปัจจุบัน องค์คณะบุคคลที่สำคัญ ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (ทั้ง 185 เขตพื้นที่การศึกษา) แต่ละเขตพื้นที่ ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป (ตามประกาศกระทรวง เรื่อง การกระจายอำนาจ ให้ กพท.ให้ความเห็นชอบ ใน 4 เรื่อง ที่มีการกระจายอำนาจ คือ เรื่อง การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไป) คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้าน การบริหารงานบุคคล
......โดยนัยดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลงานวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป ในขณะที่ กตปน. เน้นการดูแลงานด้านวิชาการ และ อ.ก.ค.ศ. ดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล ปัญหาสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้การทำงานของ 3 องค์กร สามารถสอดรับ ประสานกันได้อย่างกลมกลืน ในการนี้ ผมเห็นว่า ในการทำงานในรอบปี กพท.จะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ มีวงจรการพัฒนางานที่ชัดเจน คือ
......1) มีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (รวมปัญหา วิชาการ และปัญหาการบริหารงานบุคคล)
......2) มีการกำหนดนโยบาย/ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในรอบปี(ครอบคลุมนโยบายด้านวิชาการ ที่ได้มาจาก กตปน. และ นโยบายด้านบุคคล ที่ได้มาจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา)
......3) มีการอนุมัติแผนการพัฒนางานประจำปี (ซึ่งแผนพัฒนาจะต้องครอบคลุมงานทุกด้าน ทั้ง การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไป)
......4) มีการกำกำกับติดตามงาน (ทุกด้าน) และ
......5) มีการสรุป ประเมินผลการดำเนินงานจัดการศึกษาในรอบปี (สรุป ประเมินผลครอบคลุมในทุกด้านทั้ง 4 ด้าน)
......หากทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ดังกล่าวข้างต้น ผมคิดว่า การทำงานของคณะกรรมการทั้งสามชุด จะสอดรับ หรือประสานกันได้เป็นอย่างดี จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางานของเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อให้การทำงานมีการประสาน สอดรับกันได้ด้วยดี ในแต่ละรอบปี ควรมีการประชุมร่วมระหว่างกรรมการทุกชุด เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และรวมพลังเพื่อยกระดับคุณภาพงานของเขตพื้นที่
......ในกรณีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีคณะกรรมการที่สำคัญ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน( เป็นกรรมการหลัก) นอกจากนั้น อาจมีคณะกรรมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะกรรมการสมาคมครูและผู้ปกครอง ฯลฯ ซึ่งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทุกชุดเหล่านี้ ควรศึกษาบทบาทของกันและกัน ควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนางานของสถานศึกษา ให้สอดรับกัน เพื่อเป็นการเสริมพลังระหว่างกัน ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
Blog เกี่ยวกับ เกร็ดบริหาร
วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
1.1 เริ่มงาน: ทำความเข้าใจบทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการ
........เมื่อได้รับมอบหมาย หรือ ได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการในองค์กรใด ๆ สิ่งแรกสุดที่กรรมการทุกคนควรทำ คือ "การศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนั้น ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้" อย่างเช่น ในกณีที่ผู้เขียนได้เข้าไปทำหน้าที่กรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 ในปี 2551 แม้จะทำหน้าที่เป็นกรรมการสมัยที่สอง แต่ก็จำเป็นต้องตรวจสอบในเชิงทบทวนว่า กรรมการเขตพื้นที่มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง รวมทั้ง ได้รับการกระจายอำนาจให้มีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง คำถามที่ควรถามในเชิงตรวจสอบ เช่น
-คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา คือใคร...มีบทบาทอย่างไร ( คำตอบคือ เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสาถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง)
-มีการมอบอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในระยะเร็ววันที่ผ่านมา อย่างไรบ้าง(คำถามนี้ เพื่อให้ทุกคนไม่ตกหล่นในอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ซึ่ง อาจเกิดขึ้นตามกฏกระทรวงอยู่ตลอดเวลา เช่น ตามประกาศกระทรวง เรื่อง การกระจายอำนาจ ในปี 2551 ให้ กพท.ให้ความเห็นชอบตามที่เขตเสนอ ใน 4 เรื่อง ที่มีการกระจายอำนาจ คือ เรื่อง การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไป)
-มีงาน โครงการ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางาน ที่ ได้รับการฝากฝัง หรือมอบหมายงานต่อเนื่องจากกรรมการชุดก่อน หรือไม่( ดูจากรายงานการประชุม หรือบันทึกงานมอบหมาย)
........การทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ อาจรวมถึง การซักถามต่อฝ่ายเลขานุการ หรือตรวจสอบให่ชัดเจนว่า ขณะนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการ ครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกตำแหน่งแล้วหรือไม่ จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง องค์ประกอบใดบ้างหรือไม่(เพื่อการก้าวเดินอย่างพร้อมเพรียง มั่นคง)
........ในทางปฏิบัติ เมื่อ ผู้เขียนเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2(สมัยที่ 2 ในปี 2551) และ ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (ในเดือนสิงหาคม 2551) ก็ได้ทำหน้าที่ทบทวนบทบาทของกรรมการต่อที่ประชุม เพื่อให้ทุกคน เข้าใจบทบาทหน้าที่ตรงกัน พร้อมทั้งได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการทำงานของคณะกรรมการชุดก่อน รวมถึงวิเคราะห์/ทำความเข้าใจประเด็นปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานที่กรรมการชุดก่อนเสนอแนะหรือส่งมอบงาน
-คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา คือใคร...มีบทบาทอย่างไร ( คำตอบคือ เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสาถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง)
-มีการมอบอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมในระยะเร็ววันที่ผ่านมา อย่างไรบ้าง(คำถามนี้ เพื่อให้ทุกคนไม่ตกหล่นในอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ซึ่ง อาจเกิดขึ้นตามกฏกระทรวงอยู่ตลอดเวลา เช่น ตามประกาศกระทรวง เรื่อง การกระจายอำนาจ ในปี 2551 ให้ กพท.ให้ความเห็นชอบตามที่เขตเสนอ ใน 4 เรื่อง ที่มีการกระจายอำนาจ คือ เรื่อง การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไป)
-มีงาน โครงการ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางาน ที่ ได้รับการฝากฝัง หรือมอบหมายงานต่อเนื่องจากกรรมการชุดก่อน หรือไม่( ดูจากรายงานการประชุม หรือบันทึกงานมอบหมาย)
........การทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ อาจรวมถึง การซักถามต่อฝ่ายเลขานุการ หรือตรวจสอบให่ชัดเจนว่า ขณะนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการ ครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกตำแหน่งแล้วหรือไม่ จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง องค์ประกอบใดบ้างหรือไม่(เพื่อการก้าวเดินอย่างพร้อมเพรียง มั่นคง)
........ในทางปฏิบัติ เมื่อ ผู้เขียนเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2(สมัยที่ 2 ในปี 2551) และ ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (ในเดือนสิงหาคม 2551) ก็ได้ทำหน้าที่ทบทวนบทบาทของกรรมการต่อที่ประชุม เพื่อให้ทุกคน เข้าใจบทบาทหน้าที่ตรงกัน พร้อมทั้งได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการทำงานของคณะกรรมการชุดก่อน รวมถึงวิเคราะห์/ทำความเข้าใจประเด็นปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานที่กรรมการชุดก่อนเสนอแนะหรือส่งมอบงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)